วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษา

      การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่นักศึกษา
สถานการณ์บ้านเมืองของ ประเทศไทยเราในปัจจุบันนี้  ดูน่าเป็นห่วง   อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจ   ปัญหาความเสื่อมถอยในด้าน คุณธรรม  จริยธรรมของคน ทั้งในระดับนักการเมือง  ข้าราชการ  หรือ คนในแวดวงอาชีพอื่นๆ  ภาพที่เห็นชัดเจนและเป็นข่าวอยู่ทุกวัน ก็คือ  การทุจริตคอรัปชั่น  การก่ออาชญากรรม   การเสพและการค้ายาเสพติด  ซึ่ง แพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนไทย  ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึง อุดมศึกษา  รวมถึงการแต่งกายล่อแหลม ที่เป็นมูลเหตุก่อให้เกิดอาชญากรรม ทางเพศ ของนักศึกษาหญิง   การขายบริการทางเพศของนักศึกษา   การที่นักศึกษาอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยา  การทะเลาะวิวาทของนักศึกษาทั้งภายในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบัน  เหล่านี้เป็นต้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของเยาวชนดังกล่าว  ทุกคนต่างลงความเห็นตรงกันว่า  เยาวชนไทยของเราขาดการปลูกฝังในด้าน คุณธรรม  จริยธรรม อย่างยั่งยืน  คือ อาจจะมีอยู่บ้างแต่เป็นแบบฉาบฉวย  ไม่เกิดผลที่ถาวรในขณะที่สังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ  มีสติ  ปัญญา  มีความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรม  ในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข    มีรายงานผลการสำรวจของผู้ที่ถูกให้ออกจากงาน เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของตัวพนักงานเอง  พบว่า  17 % ถูกให้ออกงานเพราะ ขาดทักษะความรู้และประสบการณ์     83 %  ถูกออกจากงานเพราะปัญหาเรื่อง ความประพฤติ และบุคลิกภาพ   ในขณะเดียวกันมีผู้ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน ในหน่วยงาน  องค์กร  สถาบันต่างๆ พบว่า   ผู้ประกอบการส่วนมากต้องการบัณทิต ที่มีคุณลักษณะดังนี้      ขยัน       ประหยัด       ซื่อสัตย์       อดทน       เสียสละ   และ มีความรับผิดชอบ    ซึ่งปรากฏการณ์ในสังคม    ดังกล่าวมานี้เป็นผลโดยตรง  มาจากเรื่องของการปลูกฝัง ทางด้านคุณธรรม  จริยธรรม นั่นเอง

จะปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่นักศึกษาได้อย่างไร
จริยธรรม  เป็น  หลักความประพฤติ  หรือ แนวทางในการปฏิบัติตน  ที่ ควรแก่การยึดถือ ปฏิบัติ  เพื่อสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข  โดยมีคุณธรรม และ ศีลธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ     การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  จึงเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตใจ ที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของคน     คุณธรรม  เป็นสภาวะที่อยากให้เราทำอะไรที่เป็นคุณ    ศีลธรรม  เป็นสภาวะที่เราห้ามจิตใจของเราไม่ให้ทำในสิ่งผิด หรือบอกไม่ให้คนอื่นทำ   ทั้งคุณธรรม และ ศีลธรรม จึงเป็นตัวกำหนดความประพฤติของเรา   ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกที่ควร   คือ  เป็นตัวกำหนดจริยธรรม      จริยธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลมาจากศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับ   วัฒนธรรม   ประเพณี  และกฎหมาย
ศาสตราจารย์  นพ.เชวง  เตชะโกศยะ ให้ แนวคิดในเรื่องการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ให้กับเยาวชน เอาไว้ว่า  คนเราถ้าไม่มีความรู้สึกผูกพันต่อ พ่อ แม่  ต่องานต่อแผ่นดิน  และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเขา  จะสอนเท่าไดก็คงไม่มีประโยชน์  เพราะเขาจะเกิดความสำนึกในหน้าที่  ในคุณค่าของชีวิต  คุณค่าของความเป็นมนุษย์  ย่อมเป็นไปไม่ได้  เพราะแม้ชีวิตของเขาเอง  เขาก็ไม่รับผิดชอบเสียแล้ว เขาจะไปรับผิดชอบในหน้าที่ของเขาที่ต้องทำความดีและให้ความดีแก่สังคมที่ได้ รับประโยชน์ได้อย่างไร  ดังนั้น คุณธรรม  จริยธรรม  จึงเป็นตัวผล ที่จะต้องสร้างด้วยเหตุ  คือ  ให้ความรู้  ความเข้าใจแก่เขาเป็นอย่างดีนั่นเอง  และมีผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย   การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  จำเป็นต้องมีครู 3 สถานะ  เป็นต้นเหตุ  คือ  ครูที่บ้าน  ครูที่โรงเรียน / สถานศึกษา  และครู  ที่เป็นคำสอนในศาสนา    เพราะบุคคล 3  จำพวกนี้  ซึ่งหมายถึง    1. บุพการี      2. ครู   3. พระสงฆ์   เท่านั้น ที่อยากเห็นบุคคลอื่นได้ดี     ถ้าขาดเหตุ หรือ เหตุ ไม่ครบถ้วน   ผลคือ  คุณธรรม และ จริยธรรม  ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้  หรือไม่สมบูรณ์นั่นเอง   เรามักจะเอาผลกลับมาเป็นเหตุ  คือ  เอา จริยธรรม  หรือศีลธรรม  ไปสอนเขาโดยตรง   จริยธรรม  ศีลธรรม และ คุณธรรมอื่นๆ  ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้  หรือ มีขึ้นได้น้อยเต็มที

0
ฯพณฯ พลเอกวิจิตร  กุลวณิชย์  องคมนตรี ได้ แสดงแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของเยาวชนในสังคมปัจจุบันเอาไว้ตอนหนึ่งว่า  เป็นเพราะคนไทยไม่รักแผ่นดินเกิด  ท่านขอร้องให้ ครู - อาจารย์  ไปสอนลูกศิษย์ว่า   ตื่นนอนตอนเช้าทุกวัน ให้มองหน้าตนเองในกระจก แล้วตั้งคำถาม   ถามตนเอง  3 ข้อ ( ให้ตอบด้วยความจริงใจ )
1.  ตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้ เราเคยทำอะไรที่เป็นคุณประโยชน์ต่อ  แผ่นดินเกิดบ้าง
2.  ถ้ายังไม่เคยทำ   ให้ถามตนเองต่อว่า  แล้วจะเริ่มเมื่อไหร่   เช่น เมื่อถึงวันเกิด  วันสำคัญต่างๆ  เป็นต้น
3. ถ้าไม่เคยทำและยังไม่คิดจะทำ   ดังข้อ 1  และ ข้อ 2   ให้ถามตน   เองอีกว่า   ช่วงชีวิตที่ผ่านมา  เคยทำอะไรที่เป็นผลเสียหาย ต่อ
แผ่นดินเกิดบ้าง และจะเลิกเมื่อใด

คุณธรรม  จริยธรรม ที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา
คุณธรรมอันดับแรกที่ ควรปลูกฝัง  คือ   ความกตัญญู  ซึ่งควรจะได้แสดงออกทั้ง ทางกาย   ทางวาจา  และ ทางใจ  เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ    ที่แสดงออกมาด้วยความดีงาม  แต่สิ่งเหล่านี้ กำลังถูกทำลาย ด้วย ความ    รีบเร่ง  จากกระแสวัตถุนิยม และบริโภคนิยม  ที่ไม่ได้คำนึงถึงวัฒนธรรมทางจิตใจ  หากคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจไม่มั่นคง  สิ่งที่แสดงออกมาจากพฤติกรรมของคน ก็ล้วนเป็นสิ่งจอมปลอมทั้งสิ้น    การแสดงออกทางกาย   วาจา  ใจ  ที่มีคุณธรรมเป็นที่ตั้งจึงมีส่วนสำคัญในการกล่อมเกลา จิตใจ    ให้มีความอ่อนโยน   สุภาพ นอบน้อม   สุขุม  รอบคอบ   เช่น   การกราบไหว้พระแบบเบญจางคประดิษฐ์  ซึ่งเป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูง สุด การวางมือ  การยกมือขึ้น เพื่อให้สติอยู่กับมือ   พนมมือที่น่าอกในท่าอัญชลี   เป็นการสำรวมใจออกจากปัญหา ที่ว้าวุ่น    การยกมือจรดบริเวณหว่างคิ้วในท่าวันทา   เป็นการสำรวมกาย  สำรวมวาจา  สำรวมใจ  กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ  มีความแน่วแน่มั่นคงใน จิตใจ     การก้มกราบ ท่าอภิวาท  เป็นการปล่อยใจให้ว่างลง   สยบยอมทั้งกายและใจให้กับความดี  เป็นการลดอัตตา   ความยึดมั่น  ถือมั่นในตัวเอง  ซึ่งท่าทีเหล่านี้  จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาสภาพจิตใจให้ดีงาม การปลูกฝังให้นักศึกษารู้จัก พึ่งตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นคนดี มีวินัย  คือ  การปลูกฝังให้นักศึกษาได้มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง และ  รู้จักคุณค่าของตัวเอง   ไม่มีชนชาติใดในโลกที่มีความเจริญ  งอกงาม  มั่นคงอยู่ได้ เพราะการรอรับการช่วยเหลือ ของผู้อื่น โดยไม่พึ่งตนเอง
ค่าของคน  อยู่ที่ผลของงาน  บนพื้นฐาน อุดมการณ์ชีวิต งาน
คือ ชีวิต   ชีวิต คืองาน บันดาลสุข  ทำงานให้สนุก  เป็นสุข      เมื่อ ทำงาน
ของดีต้องมีแบบ     แบบที่ดี ต้องมีระเบียบ    ระเบียบที่ดี ต้องมีวินัย     คนที่มีวินัย  คือ ...
-          เคารพตนเอง           -          เคารพผู้อื่น
-          เคารพเวลา             -          เคารพกติกา
-          เคารพสถานที่
บุญ  คือ  การละกิเลส
คน  +  ความดี  (คน มี ความดี)    =   สุข , เจริญ
คน  +  บุญ  (คน  มี  บุญ )  =  สุข ,  เจริญ
คน มี ความดี  =  คน มี บุญ   ( สุข , เจริญ )
ความดี   =   บุญ
คุณธรรม  4 ประการ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
1. การรักษาความสัตย์   ความจริงใจต่อตนเอง  ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
2. การรู้จักข่มใจตนเอง   ฝึกใจตนเอง  ให้ประพฤติปฏิบัติ  อยู่ใน    ความสัตย์  ความดี
3. การอดทน   อดกลั้น   อดออม  ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์    สุจริต   ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
4. การรู้จักละวางความชั่ว   ความทุจริต  และ รู้จักเสียสละประโยชน์   ส่วนน้อยของตน  เพื่อประโยชน์ ส่วนใหญ่ของ บ้านเมือง
คุณธรรม 7 ประการ  ของ พระพรหมคุณาภรณ์  (ประยุทธ์  ปยุตฺโต)  ที่จะทำให้บุคคลมีความเจริญในชีวิต
1.  รู้จักเลือกหาแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี
2.  มีชีวิตและอยู่ร่วมสังคมเป็นระเบียบด้วยวินัย
3.  พร้อมด้วยแรงจูงใจ   ใฝ่รู้   ใฝ่สร้างสรรค์
4.  มุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ
5.  ปรับทัศนคติและค่านิยมให้สมแนวเหตุผล
6.  มีสติกระตือรือร้นตื่นตัวทุกเวลา
7.  แก้ปัญหาและพึ่งพาตนเองได้ ด้วยความรู้คิด

ปณิธาน  10 ข้อ ของ พระพิพิธธรรมสุนทร ที่นำไปสู่ความสำเร็จ
1.  ยึดมั่นกตัญญู                         2.  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
3.  มีความเพียรสม่ำเสมอ               4.  อย่าเผลอใจใฝ่ต่ำ
5.  เชื่อฟังคำผู้หลักผู้ใหญ่              6.  รักไทยดำรงไทย
7.  ใส่ใจในโลกกว้าง                    8.  ยึดแบบอย่างที่ดี
9.  รู้รักสามัคคีตลอดเวลา              10.  ใช้ศาสนาเป็นเครื่องดำรงชีวิต
คุณธรรม เพื่อความสวัสดีของชีวิต  ของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี)
สิ่งที่เธอควรมี "สติปัญญา "                     สิ่งที่เธอควรแสวงหา "กัลยาณมิตร"
สิ่งที่เธอควรคิด "ความดีงาม"                   สิ่งที่เธอควรพยายาม "การศึกษา"
สิ่งที่เธอควรเข้าหา "นักปราชญ์"               สิ่งที่เธอควรฉลาด "การเข้าสังคม"
สิ่งที่เธอควรนิยม "ความซื่อสัตย์"               สิ่งที่เธอควรตัด "อกุศลมูล"
สิ่งที่เธอควรเพิ่มพูน "บุญกุศล"                  สิ่งที่เธอควรอดทน "การดูหมิ่น"
สิ่งที่เธอควรยิน "พุทธธรรม"                     สิ่งที่เธอควรจดจำ "ผู้มีคุณ"
สิ่งที่เธอควรเทิดทูน "สถาบันกษัตริย์"         สิ่งที่เธอควรขจัด "ความเห็นแก่ตัว"
สิ่งที่เธอควรเลิกเมามัว "การพนัน"              สิ่งที่เธอควรสร้างสรรค์ "สัมมาชีพ"
สิ่งที่เธอควรเร่งรีบ "การแทนคุณบุพการี"      สิ่งที่เธอควรปฏิบัติทันที
"ทำวันนี้ให้ดีที่สุด"
การปลูกฝัง คุณธรรม  จริยธรรม ให้แก่เยาวชน  จำเป็นต้องเริ่มแต่เด็ก เพราะอายุก่อน  6 ปี  จะสามารกบันทึกจริยธรรมในช่วงนั้น ได้มากที่สุด   พ่อ  แม่  ญาติพี่น้อง  ผู้ใกล้ชิดของเด็กในวัยนี้ จึงมีบทบาทสำคัญมาก ในการปลูกฝัง คุณธรรม  จริยธรรม และควรทำอย่างต่อเนื่องผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกหลักสูตร จนกระทั่งเด็กเหล่านี้เข้าสู่ การเรียนในระบบ  ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา  จนถึง ระดับอุดมศึกษา  เติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น  การปลูกฝังทางด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ยังคงต้อง ดำเนินต่อไป  อย่างเป็นธรรมชาติ  เพื่อให้นักศึกษาเป็นทั้ง  คนเก่ง  คนดี และมีความสุข

การวางแผนการปลูกฝัง คุณธรรม  จริยธรรม  ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
1.การสอนโดยตรงในรายวิชา
2.การปลูกฝัง คุณธรรม  จริยธรรม โดยบูรณาการไว้ในการเรียน      การสอน
3.การสนับสนุนส่งเสริมงานด้านกิจการนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
4.ผู้สอนต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา
5.การให้รางวัลและการยกย่อง  ชมเชย  นักศึกษาที่ทำความดี          กระทำตนเป็นประโยชน์แก่สังคม
แนวทางในการประเมินด้าน คุณธรรม  จริยธรรม  ของนักศึกษา
1. ผู้สอนกับผู้เรียนร่วมกันกำหนด คุณธรรม  จริยธรรม  ที่พึงประสงค์ และควรได้รับการปลูกฝัง  หรือแก้ไขโดยเร่งด่วน  โดยอาจ กำหนดเป็นบทบัญญัติ  เช่น  ความซื่อสัตย์    การตรงต่อเวลา    การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน  เป็นต้น
2.วางแผนร่วมกับผู้เรียนในการกำหนดเกณฑ์การประเมิน ด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ว่าจะพิจารณาจากสิ่งใดบ้างในการประเมิน  (ตัวบ่งชี้)  และ  ให้น้ำหนักความสำคัญอย่างเป็นรูปธรรม
3.กำหนด / เลือก  เครื่องมือและวิธีการ  เพื่อใช้ในการประเมิน คุณธรรม  จริยธรรม  ของผู้เรียน  เช่น
-   การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
-   แบบบันทึกผลการสังเกต
-   การประเมินตนเองของผู้เรียน
-   การประเมินโดยเพื่อน
-   การประเมินโดยอาจารย์ผู้สอน
-   แฟ้มสะสมงาน
ฯลฯ
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นตัวอย่างของการปลูกฝัง คุณธรรม  จริยธรรม           ให้แก่ นักศึกษา  แต่สิ่งที่ต้องคำนึงอีกประการหนึ่ง  คือ  ความถี่ในการ  ปฏิบัติ   ตามหลักจิตวิทยาของมนุษย์ ต้องมีการเรียนรู้โดยการตอกย้ำหลายครั้ง  อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักศึกษามีมากมาย     การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  ให้แก่นักศึกษาจึงจำเป็นต้องดำเนินการ   ควบคู่กันไปกับการพัฒนาในส่วนอื่นๆ   ครู - อาจารย์  จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมาก   นอกเหนือจาก บิดา  มารดา  ญาติพี่น้องและสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ในสังคม ซึ่งในเรื่องนี้ พระพรหมคุณาภรณ์  (ประยุทธ์  ปยุตฺโต)  ได้กล่าว     ถึง บทบาทของ ครู - อาจารย์  ในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ในปัจจุบัน เอาไว้ว่า   ครู - อาจารย์ จะต้องทำหน้าที่เป็นหลักสำคัญ ให้กับ   นักศึกษา  2 อย่าง  คือ
1.  ชี้นำชีวิตที่ดีงามแก่นักศึกษา
2.  ปลุกความเป็นนักศึกษาให้ตื่นขึ้น  ให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
ดังนั้น ครู - อาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา คงไม่อาจปฏิเสธภาระหน้าที่   สำคัญในด้าน การปลูกฝัง คุณธรรม  จริยธรรม  ให้แก่นักศึกษา นอกเหนือ จากงานด้านการเรียนการสอนเชิงวิชาการ

ความหมายจริยธรรม

        "จริยธรรม" มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติกิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ 


          อลิสโตเติล กล่าวว่า พฤติกรรมที่เหมาะสม คือควรปฏิบัติตามกฎการเดินสายกลาง golden mean of moderation คือการไม่ทำอะไร สุดโต่ง เช่น ร่ำรวยเกินไป ยากจนเกินไปความหมายของจริยธรรมธุรกิจ
          จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานคุณค่าแห่งความดีงามของการกระทำหนึ่ง ๆ และหรือพฤติกรรมโดยรวม ธุรกิจ หมายถึง บุคคล นิติบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ที่ดำเนินการผลิตสินค้าบริการเพื่อผลตอบแทนในการลงทุน (กำไร) จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง มาตรฐานการผลิตสินค้าและการให้บริการเพื่อผลตอบแทนตามคุณค่าของการลงทุนโดย เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้บริโภค ผู้รับบริการรัฐบาล สังคม ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจร่วมกันองค์ประกอบสำคัญของจริยธรรม
          1. ความเฉลียวฉลาด (wisdom)
          2. ความกล้าหาญ (courage)
          3. ความรู้จักเพียงพอ (temperance)
          4. ความยุติธรรม (justice)
          5. ความมีสติ (conscience)ประโยชน์ของจริยธรรมธุรกิจ
          1. จริยธรรมก่อให้เกิดความมุ่งมั่นของพนักงานในองค์กร
          2. จริยธรรมก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร
          3. จริยธรรมก่อให้เกิดความมั่นใจของนักลงทุน
          4. จริยธรรมก่อให้เกิดความสงบสุขของสังคม
          5. จริยธรรมก่อให้เกิดความเจริญของประเทศชาติความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมธุรกิจ
          1. เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน
          2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
          3. เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค
          4. เพื่อรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อมความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย
          1. การบังคับใช้
          2. เหตุแห่งการเกิด
          3. บทลงโทษ
          4. การยกย่องสรรเสริญ
          5. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน

 

โดยสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้        

 1.การบังคับใช้
               - กฎหมายเป็นสิ่งที่ผู้นำตั้งขึ้นตามความเหมาะสม จะปฎิเสธว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
               - จริยธรรมขึ้นอยู่กับบุคคล อยู่ที่จิตใต้สำนึก ไม่บังคับใช้อยู่ที่ความสมัครใจ
        

 2.เหตุแห่งการเกิด
               - กฎหมายเกิดอย่างเป็นกระบวนการเป็นทางการสามารถเปลี่ยนตามสภาวะสังคม
               - จริยธรรมเกิดจากพื้นฐานทางสังคมที่แท้จริงโดยอาศัยระยะเวลาในการยอมรับ
          

3.บทลงโทษ
               - กฎหมายมีการกำหนดบทลงโทษไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
               - จริยธรรมมีการกำหนดบทลงโทษแตกต่างกันไม่มีกำหนด
         

 4.การยกย่องสรรเสริญ
               - บุคคลที่สามารถปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎหมายได้ถือเป็นพลเมืองดี
               - จริยธรรมต้องสั่งสมและต้องสร้างจากภายในออกสู่ภายนอก
        

  5.เกณฑ์การใช้ในการตัดสิน
               - หลักกฎหมายมีระบุชัดเจน เกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีผิด,ไม่ผิด
               - จริยธรรมมีความยืดหยุ่นมาก เกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีควรหรือไม่ควร

สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ สิ่งที่เป็นจริยธรรม (ethics) นั้นจะมีความแตกต่างจาก กฎหมาย (law) อยู่หลายประการ คือ
               

- สิ่งที่เป็นจริยธรรม ก่อเกิดจากภายในตัวของผู้กระทำเอง เป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ในระดับสูง การลงโทษก็เป็นการควบคุม               

- ส่วนกฎหมายนั้น เป็นเรื่องของการบังคับให้ปฏิบัติ มิได้ก่อเกิดจากรากฐานภายในจิตใจ และกฎหมายอาจเป็นดั่งบรรทัดฐาน (norms) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทั้งจริยธรรมและกฎหมาย ก็เป็นสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทำให้สังคมนั้นดีจากสังคม (social sanction)

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

   เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Information Technology เรียกย่อๆ ว่า “IT” หรือ ไอที โดยมีคำที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 คำคือ

             เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การ ประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น เช่น ทรายหรือซิลิกอน เป็นสารแร่ที่พบเห็นทั่วไปตามชายหาด หากนำมาสกัดด้วยเทคโนโลยีและใช้เทคนิควิธีการสร้างเป็นชิป (chip) สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จะทำให้สารแร่ซิลิกอนนั้นมีคุณค่า และมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อีกมาก
            สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูล ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หากมีการจัดเก็บรวบรวม เรียกค้น และสื่อสารระหว่างกัน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ สารสนเทศมีความหมายที่กว้างไกล ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนเพิ่มเติม 
           เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การ นำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ มาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก
           ทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศที่สำคัญได้แก่ เทคโนโลยีการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ สารสนเทศ ขั้นตอนวิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด

ประวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ

       การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า การปฏิวัติมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งหลักแหล่ง เพื่อทำการเกษตร ต่อมาเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากที่เจมส์วัตต์ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ มนุษย์รู้จักนำเอาเครื่องจักรมาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตและช่วยในการสร้าง ยานพาหนะเพื่องานคมนาคมขนส่ง ผลที่ตามมาทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาเป็นสังคมเมือง และเกิดรวมกันเป็นเมืองอุตสาหกรรมต่าง ๆ

         ในช่วง พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างรวด เร็ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมาก เกิดการประยุกต์งานด้านต่าง ๆ เช่น ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต การจองตั๋ว การซื้อสินค้า การติดต่อส่งข้อมูล เช่น โทรสาร (facsimile) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้วิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกของหมวดวิชาคณิตศาตร์ ประกอบด้วย 2 รายวิชา คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก ต่อมา พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2541 ก็เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์อีกหลายวิชา และจัดกลุ่มอยู่ในวิชาอาชีพสาขาคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีโรงเรียนมัธยมศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศเปิดการเรียนการสอนทางด้าน คอมพิวเตอร์ขึ้นมีความจำเป็นเพียงไรที่จะต้องให้เยาวชนไทยเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เมื่อมีวิชาพื้นฐานอื่น ๆ มากมายที่ต้องจะเรียน เหตุผลสำคัญสำหรับตอบคำถามนี้ คือปัจจุบันความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ข้อมูลมากขึ้น aaaaaตั้งแต่เช้าตรู่ นักเรียนอาจถูกปลุกด้วยเสียงนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์แบบดิจิทัล และเริ่มวันใหม่ด้วยการฟังวิทยุที่ส่งกระจายเสียงทั่วประเทศพร้อมกัน รับประทานอาหารเช้าที่ปรุงจากเครื่องครัวที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เสร็จแล้วรีบมาโรงเรียน ก้าวเข้าลิฟต์ที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ติดต่อกับเพื่อนด้วยโทรศัพท์มือถือ คิดเลขด้วยเครื่องคิดเลขทันสมัย เรียนพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรมประมวลคำ ตกเย็นกลับบ้านดูทีวีแล้วเข้านอนaaaaaกิจวัตรในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น จนดูเหมือนว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งทำให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีทางด้านอวกาศ ทางด้านการผลิต ทางด้านอุตสาหกรรม และทางด้านพาณิชยกรรมaaaaaการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก เริ่มจากการใช้เครื่องจักรกลแทนการทำงานด้วยมือ พลังงานที่ขับเคลื่อนเครื่องจักรก็มาจากพลังงานน้ำ พลังงานไอน้ำ และเปลี่ยนมาเป็นพลังงานจากน้ำมันขับเคลื่อนเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าแทน ต่อมาการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นอีก โดยเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานทีละขั้นตอนมาเป็นการทำงานระบบอัตโนมัติ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กลไกการควบคุมอัตโนมัติทำงาน เช่น การดำเนินงานผลิต การตรวจสอบ การควบคุม ฯลฯ การทำงานเหล่านี้อาศัยระบบการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์aaaaaอุตสาหกรรมทางด้าน คอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในระยะปีหรือสองปีข้างหน้า ยากที่จะคาดเดาว่า จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรใหม่ขึ้นมาอีกบ้าง ทั้งนี้เพราะขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสูงมาก โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer )
aaaaaมีผู้กล่าวว่าการ ปฏิวัติครั้งที่สามกำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดใหม่นี้ ได้แก่ การพัฒนาการทางด้านความคิด การตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการของคอมพิวเตอร์ ในอนาคตอันใกล้ผู้จัดการเพียงคนเดียวอาจทำงานทั้งหมดโดยอาศัยระบบ คอมพิวเตอร์ควบคุม ทำการควบคุมหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ และให้หุ่นยนต์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอีกต่อหนึ่ง
aaaaaในระดับ ประเทศ ประเทศไทยสั่งเข้าสินค้าเทคโนโลยีระดับสูงปริมาณมาก จึงต้องซื้อเทคนิควิธีการ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามามากตามไปด้วย ขณะเดียวกันเรายังขาดบุคลากรที่จะใช้เครื่องจักรเครื่องมือเหล่านั้นให้มี ประสิทธิภาพ การสูญเสียเงินตราเนื่องจากสาเหตุนี้จึงเกิดขึ้นมิใช่น้อย หลายโรงงานยังไม่กล้าใช้เครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ เพราะหาบุคลากรในการดำเนินการได้ยาก แต่ในระยะหลังค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นและการแข่งขันทางธุรกิจมีมากขึ้น จึงตกอยู่ในสภาวะจำยอมที่จะเอาเครื่องมือเหล่านั้นเข้ามา เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าวให้ผลผลิตที่ดีกว่าของเดิมและมีราคาต้นทุนต่ำลง อีกด้วย aaaaaในหลักการเป็นที่ยอมรับว่า ความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเกือบทุกแขนงมีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยเสมอ ระบบการผลิตส่วนใหญ่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์แทรกเข้ามาเกือบทุกกระบวนการ ตั้งแต่การควบคุม การขนส่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การวัดและการบรรจุหีบห่อ ตลอดถึงการใช้เครื่องทุ่นแรงบางอย่าง
         เครื่องมือที่ใช้วัดเกือบทุกประเภทมักมีไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น การวัดอุณหภูมิ วัดความดัน วัดความเร็วการไหล วัดระดับของเหลว วัดปริมาณค่าที่จำเป็นสำหรับการควบคุมคุณภาพในยุควิกฤตการณ์พลังงาน หลายประเทศพยายามลดการใช้พลังงาน โรงงานพยายามหาทางควบคุมพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อจะลดค่าใช้จ่าย ลง จึงนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุม เช่น ควบคุมการเดินเครื่องให้เหมาะสม ควบคุมปริมาณการใช้พลังงาน ควบคุมการจัดภาระงานให้เหมาะสม รวมถึงการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย

เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

    คน เราทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ไม่สามารถจะอยู่ได้โดยไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอก การรับรู้ข่าวสาร เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุหรือดู โทรทัศน์ ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบบหนึ่ง การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนั้น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ตู้ เอ ที เอ็ม) ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยี

สารสนเทศในชีวิตประจำวัน
ไม่แต่เฉพาะคนในเมืองเท่านั้น แม้แต่คนในชนบทก็มีส่วนต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันด้วย เช่น
เมื่อไปทำบัตรประชาชนที่อำเภอ ทางอำเภอจะเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูล กลางของสำนักทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ซึ่ง
ต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียกใช้งานได้ทันที เช่นนี้เรียกว่า ระบบออนไลน์ (หรือสายตรง) ระบบเช่นนี้มี
ประโยชน์มาก เพราะจำทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกัน และที่เราจะพบได้อีกที่คือระบบเวชระเบียน
การค้นหาประวัติผู้ป่วย ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เมื่อมีการเรียกใช้งานก็จะส่งข้อมูลไปยัง
เครื่องที่เรียกใช้งานเป็นต้น

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา